รู้วิธีรับมืออาการปวดหัว (Headache) ปวดแบบไหนต้องไปหาหมอ
รู้วิธีรับมืออาการปวดหัว (Headache) ปวดแบบไหนต้องไปหาหมอ
ปวดหัว (Headache)
ปวดหัว (Headache) หรือปวดศีรษะ นับเป็นอาการปกติที่เกิดขึ้นได้กับทุกคน ซึ่งลักษณะอาการปวดหัวมีหลายรูปแบบจะมีตั้งแต่ปวดหัวเล็กน้อยไปจนถึงปวดหัวมาก ทั้งปวดหัวแบบถูกกดบีบ ปวดหัวแปล๊บ ๆ ปวดหัวจี๊ด ๆ ปวดหัวตุบ ๆ โดยเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ปวดหัวจากความเครียด ปวดหัวไมเกรน หรือหากปวดหัวมากร่วมกับปวดหัวต่อเนื่องติดต่อกันเป็นเวลานาน ก็อาจมีความเป็นไปได้ว่าเกิดจากความผิดปกติของร่างกายในส่วนต่างๆ เช่น มีเนื้องอกในสมอง เส้นเลือดสมองโป่งพอง โพรงจมูกอักเสบ หรือค่าสายตาผิดปกติ ซึ่งในแต่ละโรคก็จะมีความรุนแรงที่ต่างกัน แล้วอาการปวดหัวแบบไหนอีกบ้างที่เรียกว่าผิดปกติ? เรามาดูคำอธิบายกัน
อาการปวดหัวบางชนิดอาจมีสาเหตุจากโรคร้ายแรงในสมองที่อาจเป็นอันตรายถึงชีวิต ควรรีบพบแพทย์ที่โรงพยาบาลเพื่อทำการตรวจวินิจฉัยโดยละเอียด
ปวดหัว มีสาเหตุเกิดจากอะไร?
การปวดหัว ลักษณะอาการจะมีตั้งแต่ปวดหัวเล็กน้อยไปจนถึงปวดหัวมาก โดยเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ปวดหัวจากความเครียด ปวดหัวไมเกรน หรือหากปวดหัวมากร่วมกับปวดหัวต่อเนื่องติดต่อกันเป็นเวลานาน ก็อาจมีความเป็นไปได้ว่าเกิดจากความผิดปกติของร่างกายในส่วนต่างๆ เช่น มีเนื้องอกในสมอง เส้นเลือดสมองโป่งพอง โพรงจมูกอักเสบ หรือค่าสายตาผิดปกติ ซึ่งในแต่ละโรคก็จะมีความรุนแรงที่ต่างกัน แล้วอาการปวดหัวแบบไหนอีกบ้างที่เรียกว่าผิดปกติ? เรามาดูคำอธิบายกัน
“ปวดหัว” โดยทั่วไปแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม
- การปวดศีรษะแบบไม่พบสาเหตุชัดเจน
ปวดหัวแบบตึงตัว (Tension type headache)
เป็นโรคปวดหัวที่พบได้บ่อยที่สุด มักเกิดกับบุคคลซึ่งมีความเครียด เหนื่อย ทำงานหนัก ลักษณะการปวดมักเป็นแบบแน่นๆ หรือ รัดทั้งสองข้างของศีรษะและต้นคอ โดยอาการปวดมักมีความรุนแรงน้อยถึงปานกลาง ซึ่งอาจมีการปวดของกล้ามเนื้อบริเวณศีรษะ คอ ไหล่ ร่วมด้วยได้ อาการปวดชนิดนี้ไม่แย่ลงจากกิจวัตรประจำวัน และมักไม่มีอาการคลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วย
ปวดหัวไมเกรน (Migraine headache)
เป็นโรคปวดศีรษะที่พบได้บ่อย เกิดได้จากหลายปัจจัยกระตุ้น เช่น ความเครียด อาหารหรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ความเหนื่อยล้า สภาพอากาศ การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน โดยโรคปวดศีรษะไมเกรนนี้มักพบได้บ่อยในผู้หญิงวัยทำงาน ลักษณะการปวดมักทำให้เกิดอาการปวดศีรษะรุนแรงปานกลางถึงรุนแรงมาก ซึ่งอาการปวดดังกล่าวจะแย่ลงได้จากสิ่งกระตุ้นภายนอก ทั้งแสง เสียง หรือกลิ่น ผู้ป่วยบางรายมักมีอาการคลื่นไส้อาเจียน ไมเกรนส่วนใหญ่มักจะปวดนานตั้งแต่ 4 ชั่วโมงขึ้นไป ในผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการปวดนานถึง 3 วัน
ปวดหัวคลัสเตอร์ (Cluster Headache)
เป็นโรคปวดศีรษะที่มักเกิดในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง พบได้บ่อยในช่วงอายุ 20-50 ปี โดยอาการปวดศีรษะมักมีอาการปวดที่รุนแรงจนทำให้ผู้ป่วยกระสับกระส่าย มักเกิดทันที ระยะเวลาที่ปวดประมาณ 15 นาทีถึง 3 ชั่วโมง ตำแหน่งที่ปวดมักปวดรอบดวงตาหรือบริเวณขมับ มักเป็นข้างเดียว ผู้ป่วยจะมีอาการของระบบประสาท parasympathetic ร่วมด้วย เช่น มีตาแดง มีน้ำตาไหล มีน้ำมูก มีเหงื่อออก บริเวณใบหน้าด้านที่มีอาการปวดศีรษะ ระยะเวลา 15 นาที – 3 ชั่วโมง ใน 1 วัน เป็นได้หลายครั้งและมักปวดเป็นเวลาเดิมของทุกวันติดต่อกันเป็นสัปดาห์ถึงเดือน พอหายปีนี้ ปีหน้าก็อาจปวดในช่วงเดือนใกล้เคียง
สัญญาณอันตรายของภาวะปวดหัวที่ควรพบแพทย์ทันที
- อาการปวดหัวเหมือนจะระเบิด รุนแรงทันทีทันใด บ่งบอกว่ามีความดันในกะโหลกศีรษะเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว พบในภาวะเลือดออกใต้เยื่อหุ้มสมองร่วมกับความดันโลหิตสูง
- อาการปวดหัวร่วมกับมีไข้และคอแข็ง ก้มคอไม่ได้ อาจจะมีอาการไม่เกิน 1 สัปดาห์ บ่งบอกว่า มีการติดเชื้อในเยื่อหุ้มสมอง
- อาการปวดหัวร่วมกับอาการทางระบบประสาทที่ผิดปกติ เช่น แขนขาอ่อนแรง สับสน บุคลิกภาพที่เปลี่ยนแปลง บ่งบอกว่าเป็นอัมพาต อัมพฤกษ์ ที่เกิดจากเลือดออกในเนื้อสมอง
- อาการปวดหัวที่เป็นมากขึ้นเรื่อยๆ มีไข้ ร่วมกับมีอาการชักเกร็งกระตุกทั้งตัว และซึมลง บ่งบอกว่ามีสมองอักเสบ
หากท่านหรือญาติมีอาการปวดหัวดังกล่าวที่แจ้งมาข้างต้น จำเป็นต้องได้รับการตรวจวินิจฉัยอย่างเร็วที่สุด เพื่อหาสาเหตุของการปวดหัวซึ่งจะนำไปสู่การรักษาที่ถูกต้องและรวดเร็วต่อไป
แนวทางการรักษา “อาการปวดศีรษะ”
-
รับประทานยาแก้ปวด ได้เท่าที่จำเป็น เช่น ในผู้ใหญ่รับประทาน Paracetamal (500 mg) 1 – 2 เม็ด ห่างกัน 4 – 6 ชั่วโมง ไม่ควรรับประทานติดต่อกัน นานเกิน 3 วัน
-
การบริหารจัดการความเครียด และพักผ่อนให้เพียงพอ
-
การนวดแผนไทย การฝังเข็ม และการกายภาพบำบัด
- ตรวจสายตาบ้างหากมีอาการปวดศีรษะผิดปกติ เพื่อเลือกใส่แว่นที่พอเหมาะกับสายตา
- งดชากาแฟ บุหรี่ แอลกอฮอล์
- การปรึกษาแพทย์
ผู้ที่มีอาการปวดหัวเรื้อรัง หรือมีภาวะแทรกซ้อนจากอาการปวดหัวควรพบแพทย์ผู้ชำนาญการเพื่อรับการตรวจวินิจฉัย และวางแผนการรักษาที่เหมาะสมอย่างเป็นระบบเพื่อรักษาอาการปวดหัวและภาวะแทรกซ้อนได้อย่างมีประสิทธิภาพ